สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอนาดูน

พระธาตุนาดูน (อ.นาดูน)    พุทธมณฑลแห่งอีสาน ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เพราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบได้นำไปแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดขอนแก่น และที่สำคัญยิ่งก็คือการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในตลับทองคำ เงิน และสำริด ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 13-15 สมัยทวาราวดี รัฐบาลจึงอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างพระธาตุนาดูนขึ้นในเนื้อที่ 902 ไร่ โดยบริเวณรอบๆ จะมีพิพิธภัณฑ์ทางศาสนาและวัฒนธรรม สวนรุกขชาติ สวนสมุนไพร ซึ่งตกแต่งให้เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา

กู่สันตรัตน์
เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง ของจังหวัดมหาสารคาม เดินทางสะดวก เหมาะแก่การศึกษาหาความรู้ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ
กู่สันตรัตน์เป็นโบราณสถานของอำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาทแบบย่อมๆ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียวสร้างด้วยศิลาแลง เป็นวัดเก่าแก่เก่าย้อนหลังไปถึงศตวรรษที่ 13 ซึ่งอยู่ในซากปรักหักพัง แต่บางส่วนของโครงสร้างยังคงยืนการเดินทางที่คุ้มค่า

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
อยู่แยกจากพระธาตุนาดูนไปเล็กน้อยเป็นโครงการของสถาบันวิจัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีบ้านจำลองลักษณะต่างๆของชาวอีสาน

ประวัติบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

บ่อน้ำศักดิ์สิทธ์ หรือหนองดูน
ตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่มกลางนาของนายก้าน ปัจจัยโก ราษฎร์บ้านหนองโง้ง หมู่ที่ 2 ตำบลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคามอยู่ห่างจากที่ตั้งอำเภอนาดุนไปทางทิศเหนือ ประมาณ 3 กิโลเมตร นายสุ่ย ปัตตาเนย์ อายุ 81 ปี อดีตผู้ใหญ่บ้านหนองโง้ง เล่าว่า ( สุ่ย ปัตตาเนย์ : 2529 ) แต่เดิมทุ่งดูน เป็นป่าดงมีต้นไม้หนาแน่น มีสัตว์ป่า เช่น เสือ ช้าง หมี หมูป่า กระทิง แรด สัตว์ป่าเหล่านั้นได้อาศัยน้ำในหนองดูนยังชีพ ดังนั้นบริเวณหนองดูนจึงเป็นที่ล่าสัตว์ ของ นายพราน ต่อมาเห็นว่าเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์จึงมีผู้มาตั้งบ้านเรือนขึ้นบริเวณใกล้ๆ หนองดังกล่าว และตั้งชื่อว่า ” บ้านนาดูน “
นายก้าน ปัจจัยโก อายุ 75 ปี ชาวของที่นาเล่าว่า ( ก้าน ปัจจัยโก : 2529 ) ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นน้ำดูนแล้ว เคยไปเฝ้าดูการไหลซึมของน้ำ และเห็นการไหลซึมของน้ำมากกว่าปกติ ในวันโกนและวันพระ ( ขึ้นแรม7 , 8 และ 14 , 15 ค่ำ ) และบริเวรหนองดูนแห่งนี้ได้มีน้ำไหลซึมตลอดปีจึงเป็นแหล่งน้ำดื่มของคนระแวกนั้น ตลอดจนสัตว์ เลี้ยงประกอบกับบริเวณใกล้เคียงกับหนองดูนเป็นที่ราบสลับกับเนินดิน บริเวณเหล่านี้ได้มีการขุดพบโบราณวัตถุ เศษกระเบื้อง ไห พระพิมพ์ดินเผา และ สำริตเป็น จำนวนมาก โดยเฉพาะเนินดินทิศใต้ของหนองดูน เป็นป่ารกมีต้นประดู่ใหญ่ ใช้เป็นที่ตั้งศาลพระภูมิของหมู่บ้าน ซึ่งมีการทำบุญเลี้ยงเจ้าที่เจ้าทา ง เป็น ประจำทุกปี เรียกว่าบุญหนองดุน ชาวบ้านจึงมีความเชื่อว่าบริเวณหนองดูนเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เวลาผ่านไปมาจะต้องบอกกล่าว มิฉะนั้นจะได้รับอันตรายหรือบาดเจ็บลงได้เจ้าคุณพระอริยานุวัตร เขมะจารี รองเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคามกล่าวว่า ( พระยาอริยานุวัตร 2530 : 1 ) เมื่อ พ.ศ.2468 กระทรวงมหาดไทย ได้สั่งการให้หัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดหาน้ำในสระมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ จัดส่งไปร่วมงานมหามังคลาภิเษกในพระราชพิธีรัชมหามงคลบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงเสวยราชย์ ในส่วนของจังหวัดมหาสารคาม พระยาสารคามคณาภิบาล ( อนงค์ พฆัคฆันต ) ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคามในขณะนั้น ได้สั่งการให้รอง อำหมาดเอกหลวงพิทักษ์นรากรนายอำเภอวาปีปทุม เป็นผู้จัดหาน้ำมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ โดยได้จัดประชุมราชการตลอดจนผู้เฒ่า ผู้แก่ลงความเห็นให้นำน้ำจากหนองดูนและนำน้ำจากกุดฟ้าฮ่วน ( อยู่ห่างจากกู่สันตรัตน์ ประมาณ 1 กม. ) ไปมอบให้พระยาสารคามคณาภิบาล ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม เพื่อส่งไปยังสมุหาเทศาภิบาลร้อยเอ็ด และกรุงเทพต่อไปในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ( 5 ธันวาคม 2530 ) กระทรวงมหาดไทยให้จังหวัดมหาสารคาม นำน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หรือน้ำที่เป็นเส้นชีพของจังหวัด เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นน้ำอภิเษกเสด็จออกมหาสารคาม ในพระราชพิธมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลท้อง สนามหลวง นายไสวพราหมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายเอกสิทธิ์ บุตรคล้าย นายอำเภอนาดูน ได้เลือกเอาน้ำจากหนองดูนแห่งนี้ส่งเข้าทูลเกล้า ฯ ในพระราชพิธีดังกล่าว โดยได้ประกอบพิธีพลีกรรมน้ำศักดิ์สิทธิ์ในวันพุธ ที่ 4 พฤสจิกายน 2530 เวลา 09.00 น. แล้วนำไปพักไว้ที่พักอุโบสถชัย จังหวัดมหาสารคาม ก่อนที่จะส่งไปยังกระทรวง มหาดไทยเมื่อเข้าร่วมพิธีกรรมต่อไปส่วนในด้านความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำหนองดูนนั้น เมื่อปี พ.ศ.2494 ประชาชนได้ลือกันโดยทั่วไปว่า ถ้าใครเป็นโรคง่อยเปลี้ยเสียขาหากใช้น้ำจากสระหนองดูนไปอาบกินจะหายเป็นปกติหรือโรคในท้องในใส้ ปวดหัว เวียนศรีษะก็จะหายเช่นกัน จึงมีประชาชนจากอำเภอและจังหวัดทีใกล้เคียงมาตักน้ำดูนไปรักษาโรคเป็น จำนวนมาก ทางอำเภอวาปีปทุม ( ขณะนั้นตำบลนาดูนขึ้นอยู่กับอำเภอวาปีปทุม ) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ของอำเภอ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไปรัการความปลอดภัยเป็นเวลา เดือน เศษ จนน้ำดูนแห้งขอด และไหลช้าลงตามลำดับ บางพวกที่อยู่ไกลๆมารอเอาน้ำดูน 2 ถึง 3 วัน จึงได้เต็มขวดก็มี ( พระอริยานุวัตร 2530 : 2 )

ศาลานางขาว บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
ประวัติสังเขป
    จากการขุดแต่งโบราณสถานศาลานางขาวในปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้พบศิลาจารึก ๑ หลักเขียนด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาเขมร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ มีเนื้อหากล่าวว่า พระเจ้าชัยวรมัน ( ที่ ๖) หรือพระบาทบรมไกวัลยบท ( พ.ศ.๑๖๒๓– ๑๖๕๐) มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้บรรดาพวกข้าราชการผู้มีนามว่า ราชปติวรมัน ๓ คน จารึกสุพรรณบัตรเพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ในกัมรเตงชคต หรือเทวสถาน
ลักษณะรูปแบบศิลปกรรม
       เป็นศาสนสถานศิลาแลง ประกอบด้วย ฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแนวกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ด้านหลังอาคารพบใบเสมาศิลาแลงทำเป็นสันสถูปกลางใบ จากการขุดแต่งปี พ.ศ.๒๕๑๔ พบศิลาจารึกหินทรายขนาดเล็ก ๑ หลัก ( สูง ๒๑ เซนติเมตร ) ใช้อักษรขอมโบราณ ภาษาเขมรกล่าวพระนามกษัตริย์ ” พระบาทกัมรเตงอัญ ศรีชัยวรมันเทวะ ซึ่งอาจหมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ ” และจากการขุดแต่งปี พ.ศ.๒๕๔๔ ได้พบแนวโบราณสถานเพิ่มเติมคือ พบแท่นบูชาทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลง ๔ แท่นด้วยกัน คือ ที่ด้านทิศเหนือ ทิศใต้ มุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และที่มุมทิศตะวันตกเฉียงใต้ และพบใบเสมาศิลาแลงสลักรูปสันสถูปกลางใบอีกจำนวน ๔ ใบ และพบหลักฐานที่แสดงว่าศาสนสถานแห่งนี้มีการก่อสร้างทับซ้อนกัน ๓ สมัย โดยครั้งหลังสุดได้สร้างทับซ้อนบนแนวโบราณสถานเดิม มีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อมุขยาวด้านทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออก เป็นฐานอาคารรูปจตุรมุข มีหลุมเสาเป็นระยะ สันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถง มีเครื่องบนเป็นไม้อายุสมัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖– ๑๗ สมัยวัฒนธรรมเขมร