🟢 6 วิธีการดูแลรักษาพืชในภาวะน้ำน้อยจากฝนทิ้งช่วง 🟢
.
การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า คือ การใช้น้ำอย่างประหยัด ไม่ให้น้ำท่วมขังหรือเกินความต้องการ และลดการสูญเสีย
.
1) ให้น้ำตามความต้องการของพืช เน้นตามช่วงระยะการเติบโตของพืชและให้น้ำแบบประหยัดแต่เพียงพอกับความต้องการของพืช
.
2) ให้น้ำตามความจำเป็นไม่ควรให้พืชเหี่ยวเฉา โดยสังเกตอาการพืชและดินที่โคนต้นพืช เมื่อต้นพืชเริ่มจะเหี่ยวเฉา และดินเริ่มแห้ง จำเป็นต้องให้น้ำแก่พืช หากไม่รีบให้น้ำแก่พืช จะทำให้เสียหายได้
.
3) การรักษาความชื้นในพื้นที่ และลดการคายน้ำของพืช ด้วยวิธีเขตกรรม
– การใช้วัสดุคลุมแปลงและโคนต้นพืชเพื่อรักษาความชื้น
– การปรับปรุงบำรุงดิน ให้มีความอุดมสมบูรณ์ โครงสร้างดินดี เหมาะสมกับการอุ้มน้ำและความชื้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่มีลักษณะปนทรายต้องเพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อปรับโครงสร้างให้ร่วนซุยอุ้มน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น
– การระวังป้องกันสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการสูญเสียความชื้นได้ง่าย โดยไม่ให้แปลงปลูกพืชได้รับแสงแดดจัดหรือลมแรงเกินไป จึงควรมีการปลูกไม้บังลม และการลดความเข้มของแสงแดดด้วยการพรางแสง
– การตัดแต่งกิ่ง เพื่อลดการคายน้ำของพืช และลดปัญหาโรคแมลงศัตรูพืช
.
4) ให้ดินที่โคนต้นพืชมีความชื้น (ไม่ให้น้ำขังหรือดินแฉะ) เพื่อให้พืชสามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตดี ต้องไม่ปล่อยให้ดินแห้งเป็นเวลานาน และถ้าพืชขาดน้ำจะเสียหายได้ เช่น
– ข้าวโพด หากขาดน้ำช่วงออกดอก ออกไหม และสร้างเมล็ด ผลผลิตลดลง ร้อยละ 50
– ถั่วลิสง หากขาดน้ำช่วงเริ่มติดฝัก ผลผลิตจะลดลง ร้อยละ 35
– ถั่วเหลือง หากขาดน้ำช่วงออกดอก และเริ่มติดฝัก ผลผลิตจะลดลงร้อยละ 25-35
.
5) ระวังป้องกันศัตรูพืชในช่วงแล้ง เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยต่าง ๆ
.
6) เสริมความแข็งแรงให้พืช ด้วยไม้ค้ำยัน และแนวบังลม เนื่องจากช่วงฤดูแล้งมีโอกาสเกิดลมพายุฝนฟ้าคะนองในระหว่างฤดูได้เช่นกัน
.
ข้อมูล : กองส่งเสริมโครงการพระราชดำริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น